11 วิธีในการตรวจสอบคุณภาพอาหารของคุณ ว่าดีแค่ไหน

เราบริโภคผลิตภัณฑ์ต่างๆอย่างเช่นไข่ ผลไม้และขนมปังเกือบทุกวัน แต่เราอาจไม่ได้ทราบวิธีการเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดีเพราะการบรรจุหีบห่อสีสดใสและคำโฆษณาชวนเชื่อที่มักทำให้เราไขว้เขว เป็นการดีกว่าที่จะรู้เทคนิคในการหาสิ่งที่ดีที่สุดจากร้านขายของชำเพราะมีผลโดยตรงต่อสุขภาพของเรา

เรามีสิ่งง่ายๆที่สามารถช่วยคุณซื้อสินค้าและตรวจสอบอาหารของคุณแบบนักโภชนาการที่แท้จริง
1. ไข่ไม่ควรมีลักษณะเป็นแป้ง

© depositphotos.com © shutterstock.com

แต่ละครั้งก่อนที่คุณจะซื้อไข่ให้เปิดกล่องและทำการตรวจสอบด้วยสายตา ถ้าไข่แตกติดเปลือกอาจบ่งบอกถึงว่ามันมีแบคทีเรียปนอยู่ หากไข่มีลักษณะเป็นผงเหมือนแป้งอาจมีเชื้อราปนเปื้อนอยู่ก็เป็นได้

3. อย่าใส่ใจกับวลีอย่างเช่น “ปราศจากไขมัน” หรือ “เป็นธรรมชาติ” ในแพ็คเกจ

© NEETBoiHere / reddit

เพื่อความน่าเชื่อถือ เรามักจะเห็นวลีเช่น “ทำจากธรรมชาติทั้งหมด” หรือ “ปราศจากไขมัน” และเชื่อว่าเป็นจริงตามนั้น แต่ในความเป็นจริงมันอาจเป็นเทคนิคที่ทำให้คุณซื้ออาหารนี้ ผลิตภัณฑ์ต่างๆยังสามารถมีสารกันบูด ฟรุกโตสและโซเดียมสูง คุณควรตรวจสอบส่วนผสมเหล่านี้ได้จากฉลากโภชนาการ และรวบรวมข้อมูลต่างๆแล้วจึงค่อยตัดสินใจว่าตัวเลือกตัวไหนดีที่สุดสำหรับคุณ

4. มองข้ามสีสันที่น่าสนใจบนบรรจุภัณฑ์

© shutterstock.com © shutterstock.com

แน่นอนว่าสีของผลิตภัณฑ์ต่างๆมีอิทธิพลต่อการรับรู้ของเรา ตัวอย่างเช่นหากเป็นสีเขียวเราอาจคิดว่ามันเป็นออร์แกนิก คุณควรพยายามที่จะไม่สนใจสีของหีบห่อผลิตภัณฑ์และให้ความสนใจกับส่วนผสมให้มากขึ้น หากคุณเห็นรายละเอียดของสารปรุงแต่งและสารกันบูดที่เพิ่มเข้ามาคุณจะพบว่ามันไม่ได้เป็นออร์แกนิกอย่างที่เราคิด

5. การเขียน“ multigrain” บนบรรจุภัณฑ์ของขนมปังยังไม่เพียงพอ

© shutterstock.com © shutterstock.com

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าขนมปังของคุณเป็นโฮลวีต 100% หรือโฮลเกรน 100% หากพบว่ามีการเขียน“ ขนมปังโฮลวีต” หรือ“ มัลติเกรน” ไว้บนบรรจุภัณฑ์ควรเลือกจากส่วนผสมตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยจะดีกว่า ธัญพืชอาจร่วงหล่นได้ง่ายและอาจทำให้มันสูญเสียเส้นใยที่ดีต่อสุขภาพ วิตามินและแร่ธาตุ 78% ไปในระหว่างกระบวนการโม่ คุณจะมั่นใจได้ว่าขนมปังที่มีธัญพืชรวมหลายชนิดดีจริงๆก็ต่อเมื่อคุณทำขึ้นด้วยตัวเอง

6. แม้จะเห็นประโยค“ ไม่มีการเติมน้ำตาล” ถูกเขียนลงบนบรรจุภัณฑ์แต่ว่ายังมีน้ำตาลตามธรรมชาติอยู่

© u / jdharvey / reddit © shutterstock.com

เมื่อเราเลือกซื้อน้ำผลไม้เรามักเห็นข้อความที่ว่า“ ไม่เติมน้ำตาล” ที่เขียนไว้บนบรรจุภัณฑ์ แต่ถ้าเราไม่ตรวจสอบข้อมูลโภชนาการที่ด้านหลัง และคุณอาจจะประหลาดใจที่พบว่า: มันอาจมีน้ำตาลธรรมชาติ 25-26 กรัมต่อถ้วย ซึ่งมันเยอะมาก! ปริมาณปกติคือ 77 กรัมต่อวัน ดังนั้นหากคุณพยายามควบคุมอาหารที่มีประโยชน์และไม่ใช้น้ำตาลมากเกินไปอย่าใส่ใจกับถ้อยคำที่เขียนว่า“ ปราศจากน้ำตาล”

7. ตรวจสอบผิวสัมผัสของเนื้อวัวก่อนซื้อ

© shutterstock.com

มีสองขั้นตอนในการเลือกเพื่อให้ได้เนื้อวัวที่ดี:

  • ขั้นแรกตรวจสอบสี เนื้อสดควรมีเส้นไขมันสีขาวครีม อย่ากลัวที่จะขอดูเนื้อสดจากคนขายก่อนตัดสินใจซื้อ หากชิ้นเนื้อมีสีเทาหรือน้ำตาลไม่ควรซื้อ
  • ตัวเนื้อเองไม่ควรมีความเหนียว ลักษณะเช่นนี้ไม่ควรนำไปปรุงอาหารแม้ว่าสีและกลิ่นจะดูดี

8. ใช้อุปกรณ์เพื่อตรวจจับสารเคมีในผักและผลไม้

© SCIO / facebook

จากการศึกษาพบว่าการระบุในฉลากโภชนาการมีความไม่ถูกต้องมากถึง 20% แต่เราสามารถเป็นนักวิทยาศาสตร์ได้ด้วยตัวเองโดยการมีเทคโนโลยีเซนเซอร์เพื่อสแกนดูโภชนาการของอาหารซึ่งไม่ยากเลยที่จะหาซื้อติดตัวไว้ในปัจจุบัน อุปกรณ์เหล่านี้จะมีรูปทรงที่แตกต่างกันและยังสามารถพกพาไปกับโทรศัพท์ของคุณได้

9. ดูว่าหนังไก่มีความโปร่งใสหรือไม่

© shutterstock.com © shutterstock.com

เราอาจให้ความสนใจกับสีโดยทั่วไปของไก่ แต่เรามักไม่ได้สนใจสภาพของผิวหนัง ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญ คือมันไม่ควรเป็นสีเทาหรือโปร่งใส เพราะมันหมายถึงว่ามันไม่สดและอยู่ในร้านมาระยะหนึ่งแล้ว

10. ดูสีของแตงกวาก่อนซื้อ

© sewmuchmorethanmom / reddit

สีของแตงกวาที่ดีที่สุดคือสีเขียวหรือสีเขียวเข้ม ส่วนสีเหลืองและสีขาวไม่ควรซื้อ นอกจากนี้แตงกวาที่ดีควรแข็ง ไม่หนาจนเกินไปและไม่ควรดูแห้งๆ

11. ซื้อกล้วยเฉพาะที่มีขั้วติดมาด้วย

อย่าซื้อกล้วยที่ไม่มีขั้วเพื่อประหยัดน้ำหนักไป 4 กรัม เพราะมันมีแบคทีเรียต่าง ๆ มากมายในซูเปอร์มาร์เก็ตที่สามารถเข้าไปข้างในกล้วยได้ ไม่เช่นนั้นคุณควรจะต้องตัดออกไปส่วนหนึ่งก่อนรับประทาน ซึ่งรวมๆแล้วมันก็ไม่ได้ช่วยให้ประหยัดเงินมากนัก
คุณตรวจสอบอาหารของคุณอย่างตั้งใจแค่ไหน? คุณใช้วิธีอะไร? กรุณาแบ่งปันประสบการณ์ของคุณในเพจของเรา!

ขอบคุณเรื่องราวดีๆจาก brightside เรียบเรียงโดย BTW